Welcome to OK betong

You can find about Article tourism and festivals Reviews.

2/12/2010

‘ดิเกร์ฮูลู’ ต้นธารจากเปอร์เซีย แต่กำเนิดที่ ‘โกตาบารูรามัน’

imagesหลายคนน่าจะรู้จักดีเกร์ฮูลู !

รากกำเนิดมาจากอิทธิพลของพ่อค้าชาวเปอร์เชีย นอกจากล่องเรือมาค้าขายยังดินแดนแถบนี้แล้ว ยังนำศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ด้วย

ชาวเปอร์เซียจะขับร้องกันในวันสำคัญทางศาสนา เช่น งานเมาว์ลิด ดั้งเดิมเป็นลักษณะบทสวดสรรเสริญพระเจ้า เรียกว่า “ซีเกร์เมาว์ลิด” (ซีเกร์ - Zikir - ภาษาอาหรับ แปลว่าระลึก) เป็นบทขับร้องที่เสียงไพเราะน่าฟัง เรียกกันว่า “ซีเกร์มัรฮาบา” ชาวชาวมลายูพื้นเมืองฟังแล้วสนุก แต่ไม่เข้าใจ จึงนำทำนองมาดัดแปลงพร้อมแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาถิ่น

ครั้นต่อมาจึงพัฒนามาขับร้องในที่สาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว มีการแยกเป็น 2 ฝ่ายร้องโต้ตอบแก้กันไปแก้กันมา ใช้คารมเสียดสี ปฏิญาณไหวพริบโต้ตอบ เสริมตลกโปกฮา มีการนำเครื่องดนตรีมาประยุกต์ใช้ประกอบจังหวะ ในที่สุดจึงกลายมาเป็น “ดีเกร์ฮูลู”
แต่คนไทยเรียก “ลิเกฮูลู” หรือลำตัดมลายู ถือเป็นต้นกำเนิดลำตัดไทย คำว่า “ฮูลู” แปลว่าต้นน้ำ ซึ่งหมายถึงต้นกำเนิดของแม่น้ำปัตตานี แถบเบตง มายอ บอกถึงที่มาของแหล่งกำเนิด ขณะที่กลันตันเรียก “ดีเกร์บารัต”

อย่างไรก็ดี ผู้รู้บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ดิเกร์ฮูลูกำเนิดครั้งแรกที่เมืองโกตาบารูรามัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.กายูบาเกาะ ใกล้แม่น้ำปัตตานี ปัจจุบันอยู่ที่ อ.รามัน สมัยก่อนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของปัตตานี อันเป็นดินแดนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมของชาวมลายูปัตตานี เกิดคณะมากมาย ที่ดังๆ เช่น คณะมะ กายูบอเกาะ ฯลฯ

อุปกรณ์มีการพัฒนาบ้างแต่ไม่มาก เดิมทีมีกลองมานออีบู (รำมะนาใหญ่) บานออาเนาะ (รำมะนาเล็ก) ฆง (ฆ้อง) แจระ ซึ่งทำด้วยไม้ใผ่ฝ่าซีกใช้เคาะ ปัจจุบันมีฆ้องเล็กมัดไว้กับกรอบไม้สี่เหลี่ยม ทรัมบูริน มารากัส (ลูกแซ็ก) บางคณะใช้ฉิ่งเสริม
สมัยก่อนการแต่งกายไม่พิถีพิถันนัก นุ่งโสร่ง สวมเสื้ออะไรก็ได้ มีผ้าลายดอกโพกศีรษะให้รู้ว่าเป็นผู้แสดง ปัจจุบันมีการสวมเสื้อตะโละบลางอ มีผ้าลายดอกสีสันสวยงามพันสามเหลี่ยมโพกหัว กางเกงสีเดียวกับเสื้อ ผ้าลายดอกคาดเอวถึงเข่า นับเป็นเสื้อประจำชาติมลายู

มีโต๊ะยอรอหรือตูแกกาโระเป็นหัวหน้าคณะ ทำหน้าที่ขับร้องกลอนสด (ด้นสด-ปันตน) และกลอนโต้ตอบทั่วไป (กาโระ) ลูกทีม (อาเวาะ) ประมาณ 8-12 คน คอยตบมือให้จังหวะร้องรับ ส่วนนักดนตรีมี 4-5 คน
นับเป็นศิลปะชายแดนใต้ที่น่าสนใจ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ แม้เด็กรุ่นใหม่ (ไร้ราก) กลับมองว่าเชยตกยุคไปแล้วก็ตาม

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More